สรุปบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้


สรุปบทที่ 10
เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้
เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้
เนื่องจากสารสนเทศมีเป็นจ านวนมาก จึงจ าเป็นอย่างยิ่งต้องเปลี่ยนรูปจากสารสนเทศให้มาอยู่
ในรูปแบบของความรู้แทน ในเมื่อความรู้และสารสนเทศมีความแตกต่างกันดังนั้น การจัดการ
ความรู้ (Knowledge management หรือ KM) จึงแตกต่างจากการจัดการสารสนเทศ
(Information Management) และมีความซับซ้อนกว่ามาก อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ก็
ยังจ าเป็นที่ต้องน าระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการด าเนินการและเป็นเครื่องมือส าคัญในการใน
ระบบจัดการความรู้

ความรู้คืออะไร
หลายคนยังมีความสับสนในความหมายของข้อมูล (Data), สารสนเทศ (Information) และความรู้ (Knowledge) ว่าเป็นอย่างไร ทั้งสามค านี้มีการให้นิยามกันอย่างหลากหลายเช่น ข้อมูลหมายถึงข้อเท็จจริง สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถน ามาประมวลผล วิเคราะห์ได้ ในส่วนของความรู้ก็มีนิยามที่แตกต่างกันไปดังที่ Von Krogh, Ichiro และ Nonaka [2000] อธิบายไว้ว่าความหมายของความรู้ของแต่ละคน แต่ละองค์กรนั้นมี ความหมายที่แตกต่างกัน Lueg [2001] ให้ความหมายของความรู้ว่าความรู้ไม่ใช่สารสนเทศ แต่ ความรู้มาจากสารสนเทศ ความรู้เป็นสิ่งส าคัญที่ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนินการและสร้าง จุดแข็งให้แก่องค์กร
                ประเภทของความรู้ก็เช่นเดียวกันที่มีการแบ่งประเภทกันอย่างหลากหลาย เช่น
1. ความรู้ออกเป็นความรู้ส่วนบุคคล (Individual knowledge)
2. ความรู้องค์กร (Organizational knowledge)
การแบ่งลักษณะนี้พิจารณาจากแหล่งของความรู้เช่นความรู้ในองค์กร (Internal knowledge)
และความรู้ภายนอกองค์กร (External knowledge) องค์กรทุกองค์กรต้องมีการถ่ายโอนความรู้ไปมา
ระหว่างบุคคลกับองค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ความรู้ยังมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- ความรู้ที่เรียกว่า Explicit knowledge ที่เป็นความรู้ที่สามารถเขียนหรืออธิบายออกมาเป็นตัวอักษร
ฟังก์ชั่นหรือสมการได้
- ความรู้ที่เรียกว่า Tacit knowledge ซึ่งไม่สาสามารถเขียนหรืออธิบายได้ การถ่ายโอนความรู้ประเภท
นี้ท าได้ยาก จ าเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกฝน เช่น การสร้างความรู้ที่เป็นทักษะหรือ
ความสามารถส่วนบุคคล Nonaka และ Takeuchi [1995] ได้ก าหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง
ความรู้ทั้งสองในรูปแบบของการเปลี่ยนรูปแบบเป็น 4 ส่วนคือ externalization, internalization,
socialization และ combination.

การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องที่ไกลตัว หลายองค์กรอาจเคยประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มาบ้างแล้วเช่นเมื่อผู้เชี่ยวชาญหรือพนักงานที่ใช้ความรู้และทักษะพิเศษในการทำงานลาออกหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ องค์กรก็จะประสบปัญหาในการทำงานทันทีและไม่สามารถหาพนักงานคนอื่นหรือสิ่งใดมาทำงานทดแทนได้
เมื่อความรู้ขององค์กรแต่ละองค์กรนั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นนิยามของคำว่าการจัดการความรู้ของแต่ละบุคคลและองค์กรจึงแตกต่างกันด้วย เช่น การจัดการความรู้หมายถึงการจัดการสารสนเทศและความรู้ที่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญหรือทรัพย์สินที่เป็นนามธรรม (Intangible asset) ที่องค์กรต้องการใช้เป็นส่วนสำคัญสำหรับสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งผ่านกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
ดังนั้นการจัดการความรู้ในองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ที่ผ่านมานั้นการจัดการความรู้ไม่ได้มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการและการจัดการความรู้ส่วนใหญ่มาจากการเรียนรู้จากประสบการณ

กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการในการจัดการความรู้นั้นมีการจ าแนกที่แตกต่างกันเช่น Demarest ได้แบ่ง กระบวนการจัดการความรู้เป็น
การสร้างความรู้ (Knowledge construction)
การเก็บรวบรวมความรู้ (knowledge embodiment)
การกระจายความรู้ไปใช้ (knowledge dissemination)
การนำความรู้ไปใช้ (use) ในขณะที่ Turban และคณะนำเสนอกระบวนการจัดการความรู้
กำหนดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Mesh ที่แต่ละกระบวนการมีความสัมพันธ์กัน หากสรุปแล้ว
กระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการแสวงหาความรู้ การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอดและการนำความรู้ไปใช้งาน

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology) เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) และเทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology)
- เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต
- เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลด
อุปสรรค์ในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น
- เทคโนโลยีในการจัดเก็บช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

อินเทอร์เน็ตกับบทบาทสำคัญในการจัดการความรู้
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โปรแกรมค้นหาช่วยในการค้นหาข้อมูลและความรู้ที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะข้อมูลที่ไม่ตรงกับความต้องการนักก็ตาม ในการจัดการความรู้แล้วอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาจากคำสำคัญในฐานข้อมูลความรู้ต่างๆ ดังเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมีระบบฐานข้อมูลความรู้สนับสนุนการศึกษาและวิจัยจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความรู้ได้มากกว่าย่อมหมายความว่าโอกาสในการเรียนรู้มีมากกว่า

ปัญหาการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความ
คิดเห็นกันได้ง่ายยิ่งขึ้นประโยคที่แสดงประโยชน์และคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประโยคใน
ทำนองนี้มีให้เห็นอยู่ดาษดื่น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูลหรือผู้ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศไม่มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับผู้อื่น ดังนั้นปัญหาเทคโนโลยีในเรื่อง
ของการเรียนรู้ไม่ใช่เกิดจากปัญหาในเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น ยังเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ แม้ว่าบุคลากรทุกคนรู้ว่าการแบ่งปันความรู้เป็นสิ่งที่ดี และการแบ่งปันความรู้นั้นไม่ได้ทำให้ความรู้ลดน้อยลงเลยแต่กลับยิ่งทำให้ความรู้นั้นเพิ่มพูนขึ้น แต่หลายคนยังมีความกังวลในการแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น เช่นความกังวลว่าตัวเองจะลดบทบาทและความสำคัญลงหลังจากที่แบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น องค์กรจำเป็นต้องมีมาตรการและนโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ การกระจายความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้งของบุคลากรและองค์กร

สรุป
ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการความรู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและบุคลากร สิ่งที่สำคัญที่สุด
ในการพัฒนาระบบจัดการความรู้ขององค์กรคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความปรารถนาในการเรียนรู้
แลกเปลี่ยนความรู้ซึงจะนำไปสู่การปรับตัวสู่รูปแบบองค์กรใหม่ที่เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้
(Learning Organization)



ที่มา : 
https://lookaside.fbsbx.com/file/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2010%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89.pdf?token=AWwtfi4C75TJtcSmkRcrKibtF4Db-AcQOc3ruPI2EYcKd7KsJ1Qgb6-vXBBMITh2qdLzTyprAIr0wjgdBEafwh4qauFV8iGcybYzW5c8_2QvNJ1N28n0sZI3FQYVQ8uIrCd2Khtyyu_ShUD9Mi5YIHhvO9wBEm1i-k9-2cvDjA_RQA

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปบทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

สรุปบทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล