แบบฝึกหัดบทที่ 6


แบบฝึกหัด บทที่ 6

1.ระบบสารสนเทศในองค์กร คืออะไร มีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละประเภท พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ระบบสารสนเทศในองค์กร คือ โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
          1.ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ มีการออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การ เป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อย ๆ หลายระบบ เช่น ระบบบัญชี ระบบจัดการห้องพัก
          2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน เป็นระบบที่จำแนกตามลักษณะ หรือหน้าที่ของงานหลัก ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย ๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยระบบย่อย ได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบการสรรหาและคัดเลือก เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน ระบบสารสนเทศออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงาน และระดับของผู้ใช้งาน ประกอบการบริหารและตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

2.MIS และ DSS แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อแตกต่างระหว่าง MIS และ DSS
     MIS
-          รายงานสรุปจากทรานแซคชั่น
-          การแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้างซ้ำๆ
-          ผลิตรายงานประจำ
-          ใช้เครื่องมือวิเคราะตัวอย่าง
 DSS
-          จัดหาข้อมูลและโมเดลเพื่อการตัดสินใจ
-          ทำงานแบบโต้ตอบ
-          การแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง
-          ใช้การจำ ลองแบบและโมเดลวิเคราะห์

3. ในปัจจุบันระบบ AI ถือว่ามีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจ จงอธิบายว่า AI คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างของธุรกิจที่นำระบบ AI เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
ตอบ AI คือ วิทยาการด้านปัญญาที่จะมาช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น โดยสร้างหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้เหมือนคน โดยเน้นตามแนวความคิดแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนขั้นตอนการเรียนรู้ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา รวมไปถึงการเลือกแนวทางการดำเนินการในลักษณะคล้ายมนุษย์
ธุรกิจที่นำ AI มาใช้ เช่น ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการศึกษา เป็นต้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

สรุปบทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

สรุปบทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล