สรุป บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์

บทที่ 2
การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกย่อๆ ว่า IPOS Cycle (Input Process Output Storage Cycle)
1. รับข้อมูล (Input) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น เมาส์ Mouse สแกนเนอร์ (Scanner) ไมโครโฟน (Microphone) และกล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นต้น
2. ประมวลผล (Process) เช่น การคำนวณ ภาษี ค านวณเกรดเฉลี่ย
3. แสดงผล (Output) การที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ซึ่งอุปกรณ์ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คือการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม

ประเภทของคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7 ประเภท
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็น คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการท างานสูงสุด มีราคาสูง มาก สามารถประมวลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ปัจจุบันมีการนำไปใช้กับงานออกแบบชิ้นส่วนรถ งาน วิเคราะห์สินค้าคงคลัง การออกแบบงานด้านศิลปะ


2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) มี ประสิทธิภาพรองจาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการท างานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน นิยมใช้กับองค์การ ขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้จำนวนมากในเวลา เดียวกัน เช่น ธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน บริษัทประกัน

3.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-rang Computer/Sever มี ประสิทธิภาพด้านความเร็วน้อยกว่าเมนเฟรม สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลาย คน ตัวอย่างการใช้งานเช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักโรงแรม งานด้านการบัญชีของ องค์การธุรกิจ

4.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันว่า PC (Personal Coomputer)

5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นคอมฯ ที่ มีขนาดเล็ก บาง และนำหนักเบา เหมาะแก่การพกพา ใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไป และแบตเตอรี่



6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็กที่สุด หรือที่ เรียกกันว่า PDA (Personal Digital Assistant)

7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ ตู้ร้องคาราโอเกะ


เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์(Hardware)
          โดยทั่วไปหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าเพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถ ประมวลผลได้
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ ซีพียู (CPU)เป็น วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำ ของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงาน ทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดย มีสัญญาณนาฬิกา เป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน หน่วยคำนวณและ ตรรกะ เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผล ทาง คณิตศาสตร์ และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้นการคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุม ของหน่วยควบคุม
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็น ชิบหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บันทึกโปรแกรมหรือข้อมูล หน่วยความจำหลักจะ บรรจุอยู่บนแผงวงจรหรือเรียกว่าเมนบอร์ด หน่วยความจำจะใช้หน่วยเป็น ไบต์ กิโลไบต์ กิกะไบต์ หน่วยความจำมี 3 ประเภท คือ
หน่วย ความจำแรม เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแรมบางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (Volatile Memory)
หน่วยความ จำรอม เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้นของระบบ คุณสมบัติเด่น ของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไปถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่มี กระแสไฟฟ้าหล่อ เลี้ยงแล้วก็ตาม
4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการ ประมวลผลข้อมูล
5. อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)
6. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices) ใช้สำหรับจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ ในการประมวลผลโดยสามารถจัดเก็บไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในองค์การมี ความสำคัญต่อ ประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการ จัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้ เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่ง ในการจัดการกับทรัพยากรไอทีด้านฮาร์ดแวร์นั้นมีประเด็นในการพิจารณาดัง นี้
1. จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจ
2. กำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
3. จัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

มีหน้าที่ในการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

อ้างอิง



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

สรุปบทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

สรุปบทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล