แบบฝึกหัดครั้งที่ 1

แบบฝึกหัดครั้งที่ 1


1) ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของข้อมูล พอสังเขป
ตอบ ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการ ประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
2) ให้นักศึกษาบอกข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ตอบ  ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มี ความหมายในการนำไปใช้ ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
        สารสนเทศ (Information) สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ
3) ให้ยกตัวอย่างประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศที่มีต่อนักศึกษา

ตอบ ประโยชน์ของข้อมูล

ข้อมูลต่าง ๆ ที่เรารับรู้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ดังนี้
    1. ด้านการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหา
    การทราบข้อมูลต่างๆ ทำให้ตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม เช่น การเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก หรือการรับปรุงตนเองเมื่อทราบผลสอบ เป็นต้น
   2. ด้านการติดต่อสื่อสาร
    เมื่อเราอยู่ในสังคม เราย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งการติดต่อสื่อสารด้วยวิธีการต่าง ๆ จะทำให้เรากับผู้อื่นเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ตรงกัน
    3. ด้านการเรียนหรือการทำงาน
    การศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาตนเองให้ฉลาดรอบรู้ทำให้สามารถเรียนหนังสือหรือทำงานต่างๆ ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีระสิทธิภาพ
   4. ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม
    การศึกษาข้อมูลในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น สามารถนำมาพัฒนาชุมชนและสังคมได้ เช่น มีข้อมูลเรื่องจำนวนเด็กเล็กในชุมชนเพิ่มมากขึ้น จึงสร้างศูนย์ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อดูแลเด็ก ๆ แทนพ่อแม่ เป็นต้น
    ประโยชน์ของสารสนเทศ
 1. ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
 2. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และเกิดการกระจายโอกาส เช่น การใช้ระบบการเรียนการสอนทาง
ไกลผ่านดาวเทียม ทำให้เด็กที่อยู่ในชนบทหรือเด็กที่อยู่ในถิ่นถุรกันดารมีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนเด็กที่อยู่ในเมือง
 3. ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น เช่น การใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
 4. ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น เช่น การรวบรวมข้อมูลเรื่องคุณภาพในแม่น้ำลำคลองต่างๆ
เพื่อนำมาตรวจวัดมลภาวะ แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา เป็นต้น

อ้างอิง
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fsites.google.com%2Fsite%2Fthongza2536%2F3-reiyn-ru-khxmul-rup-baeb-ladab-chan%2Fprayochn-khxng-khxmul%3Ffbclid%3DIwAR2D9x78T09B9As2khtq-H66CSFfe13T2q4aSoOWyD-F-XnGESc8odidClo&h=AT1fx6PgGsW4rYSp_hhx4VlD0yV9V3WFPRiEKllm7FI9mI1cUYSPTwQUI0ha0KC1jFhiUzvYtfR4YPdaOCYLUEY8SqIeqL8W2b8SxFighYJ0ffHWJQ62e35LSwz_gqQxNp-kd6X-n2PbtFlb3be_



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

สรุปบทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

สรุปบทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล